วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

วิชา ระบบปฏิบัติการเบื้องต้น

ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง เพื่อให้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น โปรแกรม DOX, UNIX หรือ Windows เป็นต้น การมีซอร์ฟแวร์ระบบหรือโปรแกรมระบบปฏิบัติการนี้ทำให้สามารถเพิ่มโปรแกรมลงไปในคอมพิวเตอร์ได้ง่ายอีกด้วย เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน ซอร์ฟแวร์ระบบนี้จะถูกโหลด (load) ขึ้นมาทำงานเป็นลำดับแรก
2.1 ระบบปฏิบัติการคืออะไร
ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่ถูกสร้างโดยซอร์ฟแวร์หรือเฟิร์มแวร์ (firmware คือ โปรแกรมที่ประกอบด้วยไมโคโค้ดโปรแกรม ซึ่งเก็บอยู่ในหน่วยความจำ ROM และ PROM ) หรือทังซอร์ฟแวร์ และเฟิร์มแวร์ เพื่อให้ฮาร์ดแวร์สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีความถูกต้องแม่นยำ
ความสำคัญของระบบปฏิบัติดาร
ถ้ามีรถยนต์อยู่แต่ขับไม่เป็น รถยนต์คันดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์เลย คอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเพียงใดก็ตาม ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ไม่มีระบบปฏิบัติการคอยควบคุมการทำงานซึ่งเปรียบได้กับรถยนต์ที่ไม่มีคนขับ เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวก็จะไม่มีประโยชน์เลย ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงมีความสำคัญเปรียบเสมือนกับคนขับรถยนต์ที่ต้องควบคุมรถให้เดินทางถึงที่หมายอย่างถูกต้องและปลอดภัย ระบบปฏิบัติการก็จะต้องควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่ต้องการเพื่อให้ไดเผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
          ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการไม่ได้นำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ต่างๆ เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องเล่นเกมหรือแม้กระทั่งเครื่องซักผ้า ก็มีระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงานต่างๆ เช่นกัน แต่จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบสำหรับอุปกรณ์นั้นๆ โดยเฉพาะ
2.2 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
          หน้าที่ของระบบปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
          หน้าที่หลัก คือ จัดการทรัพยากรต่างๆ ภายในระบบ ได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ อุปกรณ์ อินพุต-เอาต์พุต อุปกรณ์สื่อสาร และข้อมูล
          หน้าที่รอง ประกอบด้วย
          1. เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้ (user interface) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงาน ของฮาร์ดแวร์ได้ ซึ่งการติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้อาจอยู่ในรูปของตัวอักษรหรือรูปภาพ (Graphic User Interface: GUI) ดังรูป



ลักษณะการทำงานของ OS ในการเป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้
1.  ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้ ในองค์กรส่วนใหญ่จะมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 คน ขึ้นไป และจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล เป็นต้น
2.  ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ระบบปฏิบัติการอนุญาตให้ผู้ใช้แต่ละคนมีสิทธิในข้อมูลนั้นๆ และช่วยจัดคิวของผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำ
3.  แก้ไขปัญหาการทำงานของระบบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์บางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดในขณะที่ทำงานอยู่ ระบบปฏิบัติการจะทำการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพอยู่เสมอ
4.  ช่วยให้หน่วยอินพุต-เอาต์พุตทำงานได้คล่องตัว ในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุตต่างๆ ต้องอาศัยระบบปฏิบัติการเพื่อให้ระบบต่างๆ ทำงานได้ถูกต้องและสอดคล้องกัน
5.  คำนวณทรัพยากรที่ใช้ไป ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อระบบปฏิบัติการจะช่วยคำนวณทรัพยากรที่ใช้ไปแล้ว เพื่อให้ผู้ใช้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
6.  ช่วยให้ระบบทำงานเป็นแบบขนาน ระบบปฏิบัติการจะแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ เรียกว่า โปรเซส (Process)  ซึ่งจะทำให้การทำงานเสร็จเร็วยิ่งขึ้น
7.  จัดการโครงสร้างของข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อข้อมูลและมีการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว
8.  ควบคุมการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย เนื่องจากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการับส่งข้อมูลต่างๆ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในระบบ ซึ่งการติดต่อสื่อสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นต้องอาศัย ระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
2.3 หลักการทำงานของระบบปฏิบัติการ
         เนื่องจากการทำงานของระบบปฏิบัติการ คือ การจักการโปรแกรมต่างๆ ที่กำลังทำงานให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมต่างๆ  ที่กำลังทำงานอยู่นั้น เรียกว่า โปรเซส (Process) ดังนั้นในการอธิบายหลักการทำงานของระบบปฏิบัติการ จะขอกล่าวถึงวิธีจัดการทำงานโปรเซสของระบบปฏิบัติการว่ามีกระบวนการอย่างไรบ้าง   เมื่อระบบปฏิบัติการสร้างโปรเซสขึ้นมา ก็จะมีการนำโปรเซสดังกล่าวเข้าสู่ระบบการทำงาน ดังแสดงในรูป ซึ่งขั้นตอนการทำงานจะแบ่งตามสถานะของโปรเซส ดังนี้

                          

            1) สถานะพร้อม (ready state) หมายถึง สถานะของโปรเซสใหม่ที่พร้อมจะเข้าใช้งาน CPU เมื่อ ระบบปฏิบัติการให้โปรเซสดังกล่าวเข้าใช้งานได้
2) สถานะทำงาน ( running state) หมายถึง สถานะของโปรเซสที่กำลังใช้ CPU ในการทำงานตามความต้องการของโปรเซสนั้น และเมื่อหมดเวลาในการเข้าใช้งาน CPU ที่ระบบปฏิบัติการกำหนดไว้โปรเซสดังกล่าวก็จะกลับมาอยู่ในสถานะพร้อมเพื่อรอใช้งาน CPU ในครั้งต่อไป
3) สถานะติดขัด ( blocked state) หมายถึง สถานะของโปรเซสที่หยุดหารทำงานเพื่อรอเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโปรเซสที่กำลังทำงานอยู่ต้องมีการติดต่อกับอุปกรณ์อินพุต-เอาต์พุต โปรเซสที่อยู่ในสถานะทำงานก็จะเปลี่ยนมาเป็นโปรเซสที่อยู่ในสถานะติดขัด เพื่อเปิดโอกาสให้โปรเซสอื่นสามารถเข้าใช้งาน CPU ได้
4) สถานะแน่นิ่ง (deadlocked ) หมายถึง สถานะของโปรเซสที่หยุดการทำงานเพื่อรอเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีวันจะเกิดขึ้น ซึ่งสถานะดังกล่าวนี้จะทำให้โปรแกรมที่ใช้อยู่หยุดค้างการทำงาน (hang) หรืออาจจะทำให้คอมพิวเตอร์หยุดค้างการทำงานได้เช่นกัน
2.4 ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการ
          ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 2 ส่วน
          เคอร์เนล (kernel)  หมายถึง ส่วนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนแรกที่ถูกเรียกมาใช้งาน และจะฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำหลักของระบบ ดังนั้น เคอร์เนลจึงต้องมีขนาดเล็ก โดยเคอร์เนลจะมีหนีที่ในการติดต่อและควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมใช้งาน (application programs)
          โปรแกรมระบบ (system programs ) คือ ส่วนของโปรแกรมการทำงานของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ และผู้จัดการระบบ ( system administrator)
2.5 คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ
             ระบบปฏิบัติโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงานแบบต่างๆดังนี้
-             แบบหลายผู้ใช้(multi-user) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปสามารถเลือกใช้งานโปรแกรมได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์
-        แบบมัลติโปรเซสซิ่ง (multiprocessimg) หมายถึง ระบบปฏิบัติการซึ่งสามารถใช้ CPU มากกว่า 1 ตัว ในการประมวลผล หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบปฏิบัติการที่มีการประมวลผลแบบขนาน ( parallel processiog)
-             แบบมัลติทาสกิ้ง ( multitasking) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในเวลาเดียว โดยระบบปฏิบัติการแบบมัลติทาสกิ้งจะทำการแบ่งเวลาการใช้งาน CPU ของโปรแกรมแต่ละตัว ทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมได้พร้อมกัน
-          แบบมัลติทรีดดิ้ง( multithreading) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ส่วนต่างๆ ( thread ) ภายในโปรแกรมเดียวกันสามารถทำงานได้พร้อมกัน
-     แบบเวลาจริง ( real time ) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่ตอบสนองต่ออินพุตแบบทันทีทันใด จะเป็นระบบปฏิบัติการทีสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะงาน
     ในบางครั้งความหมายของมัลติโปรเซสซึ่งก็อาจหมายถึง ระบบปฏิบัติการที่เป็นแบบมัลติทาสกิ้งก็ได้ แต่จะ
แตกต่างกันที่แบบมัลติทาสกิ้งจะเป็นการใช้งานโปรแกรมบนระบบที่มีซีพียูเพียงตัวเดียวเท่านั้น
2.6 ประเภทของระบบปฏิบัติการ
    ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ถูกนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ไปจนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอขนาดพกพา แบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
-         ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand alone OS) นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์งาน ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น
-        ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ( Network OS หรือ NOS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้
-        ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embeded OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือสมาร์ทโฟน บางรุ่นสามารถช่วยในการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้ เป็นระบบที่เกิดขึ้นมาหลังสุด บางรุ่นระบบมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง
ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( Stand-alone OS )
DOS ( DiskOparating system)
          DOS เป็นระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์พีซี ( Personal computer: PC) ของบริษัทไอบีเอ็ม ( IBM ) หรือเครื่องไอบีเอ็มคอมแพตติเบิ้ล ( IBM compatible PC ) ที่เคยเป็นที่นิยมใช้งานมากในอดีตหรือแม้แต่ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้งานกันอยู่ ดอส เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการทำงานเป็นแบบงานเดียว ( Single Task ) หมายความว่าที่มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานใดอยู่ จะต้องรอจนกว่างานนั้นเสร็จก่อนจึงจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างอื่นต่อไป
          DOS เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากในหมู่ที่ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นผลงานของบริษัทไมโครซอฟท์คอร์เปอร์เรชั่น( Microsoft corporation ) ความเป็นมาเริ่มจากที่บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อว่าพีซี และว่าจ้างบริษัทไมโครซอฟท์ให้ช่วยออกแบบระบบปฏิบัติการของเครื่องพีซีนี้ โดยใช้ชื่อว่าพีซีดอส ( PC – DOS ) เครื่องพีซีได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จนมีบริษัทอื่นๆ สร้างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เลียนแบบเครื่องไอบีเอ็ม ซึ่งสามารถทำงานได้เหมือนกัน เป็นเครื่องแบบเดียวกัน
Windows
          Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง ซึ่งต่างจากระบบปฏิบัติการDOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบงานเดี่ยว และผู้ใช้ต้องจดจำคำสั่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก บริษัทไมโครซอฟท์จึงคิดค้นและพัฒนาโปรแกรมระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้และใช้รูปภาพแทนคำสั่งต่างๆ นั้นคือ ระบบปฏิบัติการ windows
          ในการที่จะใช้ windows นั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีประสิทธิภาพสูง ด้วยเหตุผลนี้ จึงทำให้ในระยะแรก windowsจึงไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรอย่างไรก็ตามวงการคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่ราคาถูกลง ด้วยเหตุนี้เอง windows จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกจับตามอง และในปี ค.ศ. 1990 บริษัทไมโครซอฟท์ได้พัฒนา windows 3.0 และได้รับความนิยมอย่างสูง ไมโครซอฟท์จึงพัฒนา windows 3.1 และ windows 3.11 ส่งผลให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายคนหันมาใช้windows
 Mac OS X
       ในปี 1984 บริษัทแอปเปิ้ลได้วางจำหน่ายระบบปฏิบัติการ Mac OS สำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช โดยมีการเชื่อมต่อกบผู้ใช้ผ่านทางรูปภาพทำให้ใช้งานง่าย ระบบนี้จะสนับสนุนการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง สำหรับรุ่นในปัจจุบัน คือ Mac OS X (อ่านว่า แมคโอเอสเท็น) ตัวนี้สามารถแสดงวีดีโอแบบ 3 มิติได้ สนับสนุนงานบนเครือข่ายและงานด้านมัลติมีเดียได้อย่างดี
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS)
Windows server
          Windows server เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับภายในองค์กร จัดการด้านเครือข่าย และความปลอดภัยสูง ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ รุ่นแรกที่มีชื่อว่า Windows NT จากนั้นได้พัฒนาคุณสมบัติต่างๆ เพิ่มขึ้นมีเสถียรภาพสูงขึ้น ปัจจุบันพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น Windows Server 2012
Unix
          ยูนิกส์เป็นระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้มีผู้ใช้พร้อมๆ กันได้หลายคน จึงต้องมีวิธีป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้แต่ละคน โดยผู้ใช้แต่ละคนจะมีพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ส่วนตัวไว้ใช้งาน ซึ่งพื้นที่นี้เรียกว่า โฮมไดเรคทอรี (home directory) หรือไทเรกทอรีบ้าน ผู้ใช้มีสิทธิทุกประการ ในการอ่าน เขียน บนไทเรกทอรีบ้านของตนอย่างอิสระ ส่วนไดเรกทอรีบ้านของคนอื่นนั้น อยู่ที่ผู้ใช้คนอื่นจะยินยอมหรือไม่ ซึ่งผู้ใช้ทุกคนมีสิทธิใช้ทรัพยากรส่วนรวม โดยผู้บริหารระบบจะเป็นผู้จัดการการใช้สิทธิของผู้ใช้แต่ละคน การที่ผู้ใช้มีความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้จึงต้องมีรหัสผ่านเพื่อใช้เข้าใช้ระบบของตนเอง ยูนิกส์มีวิธีการในการเข้าสู่ระบบที่เรียกว่า การล็อกอิน (log in) โดยจะมีสิ่งที่เรียกว่า login prompt ให้เมื่อจะเข้าสู่ระบบ
Linux
          ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยใช้แนวทางของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์  ใช้โค้ดที่เขียนและเผยแพร่ในแบบ โอเพ่นซอร์ส (open source) ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่าย และเหมาะกับการทำงานเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนั้นยังมีการนำลีนุกซ์มาใช้ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน เพราะระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติที่สามารถนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งมีราคาถูกแต่ประสิทธิภาพสูงได้และในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาลีนุกซ์ให้มีความเหมาะสมในการใช้งานแบบเดสก์ท็อปด้วย สำหรับประเทศไทยมีลีนุกซ์ที่พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) โดยมีชื่อว่า Linux TLE Thai Language Extention)
Solaris
          Solaris หรือในชื่อเต็ม The solaris Operating Environment เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบยูนิกซ์ ที่พัฒนาโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ รองรับการทำงานด้านเครือข่ายที่ออกแบบสำหรับงานด้านโปรแกรม E-commerce
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embeded OS)
          ระบบปฏิบัติการแบบนี้จะพบเห็นการใช้งานในอุปการณ์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ซึ่งจะแตกต่างจากระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพราะระบบปฏิบัติการนี้อยู่ภายใน Flash ROM ส่วนระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจะเป็นตัวเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท๊อป
Windows Phone
          สิบปีที่แล้วบริษัทไมโครซอฟท์ออกแบบโปรแกรมระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ขนาดมือถือ (Handheld Personal Computer: HPC) รวมถึงโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน ด้วยเพื่อแข่งจันทางการตลาดกับระบบปฏิบัติการ Plam OS แต่เนื่องจาก HPC มีทรัพยากรจำกัด คือ มีหน่วยความจำน้อย ซีพียูที่ไม่เร็วนัก มีจอขนาดเล็ก และไม่มีเมาส์ บริษัทไมโครซอร์ฟจึงตัดสินใจสร้างระบบปฏิบัติการใหม่สำหรับ HPC โดยเฉพาะชื่อ Windows CE (Windows Consumer Electronics : WinCE) ซึ่งแกนหลักของ WinCE มีขนาดเพียง 1 เมกกะไบต์ ถูกนำไปใช้เป็นส่วนสำคัญของระบบปฏิบัติการหลายตัว และในเวอร์ชั่น 3 ขึ้นไป เปลี่ยนชื่อเป็น Windows PC 2000 และ Pocket PC 2002 หลังจากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น Windows Mobile และเปลี่ยนชื่อเป็น Windows Phone ในที่สุด
Symbian OS
          ระบบปฏิบัติการ Symbian เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) และเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลักโดยเฉพาะสมาร์ทโฟน ระบบ Symbian เกิดขึ้นและพัฒนาการมาจากการที่เป็นบริษัทที่เป็นผู้นำในการผลิตซอร์ฟแวร์ที่รองรับการสื่อสารแบบไร้สาย เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1998 ซึ่งในขณะนั้นมีพันธมิตรร่วมกัน 4 รายใหญ่ คือ Ericsson, Nokia, Motorola, และ PSION ถัดมาในปี ค.ศ. 1999 Symbian ก็ได้พันธมิตรเพิ่มอีกคือ Panasonic และในปี 2000 ก็ได้มีการจับมือกับ Sony, Sanyo, Siemens
Blackberry
          ระบบปฏิบัติการนี้เป็นระบบปฏิบัติการที่คิดค้าและพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Research in Motion หรือ RIM ความสามารถหลักๆ คือรองรับการใช้งานองค์กร ในการรับส่งอีเมล์ในเชิงธุรกิจที่เน้นความปลอดภัยเป็นอย่างสูง แต่ระบบปฏิบัติการนี้จะสามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องสมาร์ทโพนค่าย Blackberry เท่านั้น คุณสมบัติโดดเด่นคือ Blackberry Messenger หรือ BBM
 i0s
          ระบบปฏิบัติการนี้ใช้สำหรับสมาร์ทโฟนของบริษัทแอปเปิ้ล โดยเริ่มต้นพัฒนาสำหรับใช้ในโทรศัพท์ไอโพน และได้พัฒนาต่อใช้สำหรับ ไอพอดทัช และไอแพด และเป็นที่นิยมอย่างล้นหลาม คุณสมบัติโดดเด่นหลังที่เห็นได้ง่ายก็คือ เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Single OS ที่ไม่ว่าจะเป็นไอโฟน ไอพอดทัช ไอแพด รุ่นไหนๆก็สามารถอัพเกรด ระบบปฏิบัติการใช้ได้เหมือนกันหมด แถมโดดเด่นด้วยแอพพลิเคชั่นเสริมมากมายมีให้เลือกดาวน์โหลดกัน ครบครันทุกความต้องการใช้งาน แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ระบบปฏิบัติการนี้ไม่สามารถที่จะเสริมเติมแต่งอะไรเข้าปเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่แอปเปิ้ลจัดสรรมาให้เท่านั้น
Android
          แอนดรอยด์ เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลีนุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิลและนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อทางกูเกิลได้เปิดฟรีแวร์ จึงทำให้ค่ายผู้ผลิตมือถือต่างๆสนใจนำระบบปฏิบัติการนี้ไปติดตั้งลงในเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนเอง เช่น Samsung, LG, HTC, Sony Ericsson, Motorola หรือแม้กระทั่งแบรนด์ไทยๆ อย่าง i-Mobile ด้วยความที่เป็นฟรีแวร์จึงทำให้ราคาค่างวดของโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์มีราคาไม่สูงมากนัก แต่มีการใช้งานที่ครบครัน และผู้ใช้สามารถเสริม เพิ่ม แต่ง ดัดแปลง รูปแบบการใช้งานได้ 

บทที่1

หน่วยที่ 1 ทำความรู้จักกับ Corel VideoStudio Pro X7

 Corel VideoStudio Pro X7 เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่ใช้งานไม่ยากจนเกินไปแม้ผู้ที่เริ่มใช้งานก็สามารถที่จะสร้างวีดีโอได้เหมือนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตัดต่อวีดีโอมานานโปรแกรมนี้มีเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับตัดต่อวีดีโออย่างครบถ้วน เริ่มตั้งแต่จับภาพจากกล้องเข้าคอมพิวเตอร์ ตัดต่อวีดีโอ ใส่ Effect ต่าง ๆ แทรกดนตรีประกอบ แทรกคาบรรยาย ไปจนถึงบันทึกวีดีโอที่ตัดต่อกลับลง VCD DVD หรือแม้กระทั่งเผยแพร่ผลงานทางเว็บ
 1. การติดตั้งโปรแกรม Corel VideoStudio Pro X7                 
          1) ดับเบิลคลิกที่ปุ่ม  Setup  Program   
          2) คลิกปุ่ม  
          3) เลือกที่เก็บไฟล์ จากนั้นคลิกปุ่ม ดังรูป 3
          4) คลิกปุ่ม Description: http://www.krukittinankwc.org/home/images/lesson/chapter_1/00000027.png
         
          5) โปรแกรมทำการบันทึกไฟล์           
          6) โปรแกรมกำลังกำเนินการติดตั้ง          
          
         7) คลิกปุ่ม   เพื่อยอมรับเงื่อนไขการติดตั้ง 
          8) คลิกปุ่ม          

          9) เลือกประเทศที่ติดตั้ง 
         10) เลือกระบบการแสดงผลภาพวีดีโอ (ประเทศไทยนิยมใช้ระบบ  Pal) ดังรูป 7
         11) เลือกพื้นที่ที่ใช้ในการจัดเก็บ
         12) คลิกปุ่ม Install Now          
         13) คลิกเลือก ติดตั้ง/ไม่ติดตั้ง โปรแกรมเสริม
         14) คลิกปุ่ม

          15)โปรแกรมกำลังดำเนินการติดตั้ง ดังรูป        
        
          16) คลิกที่ปุ่ม Finish (สิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรม) ดังรูป 10
 2. ส่วนประกอบต่าง ๆ ใน Corel VideoStudio Pro X7
          1) เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Corel VideoStudio Pro X7 จะเข้าสู่หน้าจอ ประกอบด้วย ดังรูป 19
                     1. Preview  window           :         สำหรับแสดงผล
                     2. Library                           :         แถบเครื่องมือหลักที่ใช้ในการตัดต่อ
                     3. Timeline                         :         เรียบเรียง / ตัดต่อวีดีโอคลิป         

         เราสามารถเคลื่อนย้ายพื้นที่การทำงานบน  Work  space  โดยดับเบิลคลิกและคลิกปุ่มซ้ายค้างไว้และย้ายไปยังตำแหน่งได้ตามต้องการ
            2.1 Edit Step  
 :   หน้าต่างสำหรับตัดต่อ
                    เป็นส่วนที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอ ซึ่งเราสามารถตัดต่อ แก้ไข ใส่เทคนิคพิเศษ เพิ่มดนตรี เชื่อมต่อคลิปวิดีโอด้วยฉากต่างๆ ได้ตามที่เราต้องการ ซึ่งเราจะเรียนรู้ในเรื่องต่อไป
                  รายละเอียดในส่วนของ Edit Step ประกอบด้วยดังรูป 20 ต่อไปนี้
         1) Preview Window                    :  หน้าต่างทำหน้าที่แสดงภาพ
         2) Step panel                               :  ส่วนเลือกการทำงานกับไฟล์วีดีโอตามลำดับ
         3) Menu Bar                                :  เลือกคำสั่งต่างๆ
         4) Media Library                         :   คลังภาพและเสียง
         5) Storyboard and Timeline        :  หน้าต่างเรียบเรียงตัดต่อคลิปวิดีโอ
         6) Tool Bar                                  :  ปุ่มเส้นทางลัดคำสั่งต่าง ๆ
         7) Library Panel                           :  แถบเครื่องมือหลักช่วยในการตัดต่อ
         8) Option Panel                            :  ส่วนรวบรวมคำสั่งหลักสำหรับตัดต่อวิดีโอ

         


                  
 2.2 Step Panel  :  ส่วนเลือกการทำงานกับไฟล์วิดีโอตามลำดับ
           เป็นส่วนการทำงานหลักของโปรแกรม Corel video studio ซึ่งจะลำดับการสร้างแก้ไข ได้แก่ การจับภาพ (capture) การตัดต่อ (edit) และการแปลงไฟล์ที่ทำเสร็จแล้ว (Share)

             
      2.2.1 แท็บ Capture  :  นำภาพวีดีโอจากแหล่งอื่น
                               เป็นการนำเข้าภาพวีดีโอ  จากแหล่งอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น  จากกล้องวีดีโอ  โทรศัพท์มือถือ  จากแผ่นซีดี  ดีวีดี  กล้องเว็บแคม ดังรูป 21 ต่อไปนี้
         


           
        2.2.2 แท็บ Edit   : เรียบเรียง / ตัดต่อวีดีโอ
                             เป็นการแก้ไข ปรับแต่ง ในการตัดต่อวีดีโอ ซึ่งเป็นส่วนหลักการทำงาน ดังรูป 22 ต่อไปนี้
         


                 
   2.2.3 แท็บ Share   :  แปลงไฟล์วีดีโอนำไปใช้งาน
                               เป็นการบันทึกไฟล์  แปลไฟล์  เพื่อนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น  การบันทึกไฟล์ลงแผ่น  ดีวีดี  บนเว็บไซด์  Youtube  เป็นต้น ดังรูป 23 ต่อไปนี้
          


                 2.3  Library Panel
 :  แถบเครื่องมือสำหรับตัดต่อ
                    เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการตัดต่อ แก้ไข เช่น การใส่เอฟเฟ็กต์ ข้อความ ภาพ เสียง คลิปวีดีโอ เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

   
               2.3.1 แท็บ Media   :  สำหรับเก็บไฟล์ภาพและวีดีโอ เพื่อรอการตัดต่อ
                            สำหรับ Media เป็น Library ที่ใช้สำหรับเก็บรูปภาพ วีดีโอ เสียง ที่ใช้ในการตัดต่อ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งไหนก็ตาม การนำไฟล์เข้าสู่  Library  โดยคลิกปุ่ม
หลังจากนั้นไฟล์ก็จะแสดงไว้ในส่วนของ Library ถ้าต้องการจัดเรียง แสดง วิธีต่าง ๆ ก็ให้คลิกปุ่ม 


                     2.3.2 แท็บ Instant Project  :  วีดีโอสำเร็จรูป
                                สำหรับรวมวีดีโอแบบสำเร็จรูปต่าง ๆ มากมาย  แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ได้แก่  beginning , middle , ending , Complete , custom , general
       
                       2.3.3 แท็บ transition  :  รูปแบบในการเปลี่ยนฉาก
                               เป็นส่วนของการใส่ลูกเล่นการเปลี่ยนฉาก แบ่งเป็น 17 หมวดด้วยกัน  ดังรูป 31-32
        


         
                     2.3.4 แท็บ Title   :  รูปแบบข้อความ
                               เป็นส่วนของการใส่ลูกเล่นข้อความแบบต่าง ๆ สามารถปรับแต่งเพิ่มเติมได้ดังรูป 33-34
         

         
                   2.3.5 แท็บ Graphic  :  สำหรับสร้างพื้นหลังสี ใส่เฟรม วัตถุ สามารถเพิ่มเติมได้               
                              เป็นส่วนสำหรับสร้างพื้นหลังสี ใส่เฟรม วัตถุ สามารถใส่เพิ่มเติมได้ ภาพจากแหล่งต่าง ๆ เช่นภาพถ่าย ภาพที่สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งประกอบด้วยรายการ
คำสั่ง 
          Flash Animation                                    
                   2.3.6 แท็บ Filter            :  สำหรับใส่ Effect ให้กับงาน
                  เป็นส่วนสำหรับสร้างความแปลกตาและน่าสนใจ  มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ  สามารถนำมาผสมผสานได้ตามความต้องการ        

                2.4  Preview window       :         หน้าต่างแสดงผล
                   Preview Window เป็นเหมือนหน้าจอแสดงผลในส่วนของประเภทที่เรากำลังตัดต่ออยู่เช่น ภาพคลิปวีดีโอ เสียง ข้อความ หรือ effect ต่าง ๆ ซึ่งหน้าต่าง Preview Window
สามารถควบคุมการทำงานได้ทุกอย่างเหมือนโปรแกรมเล่นไฟล์ภาพ วีดีโอ หรือเสียง ดังรูป 43

       
               2.5. Option Panel             :  หน้าต่างรวบรวมคำสั่งต่าง ๆ
                  Option Panel เป็นหน้าต่างสำหรับรวมการใช้คำสั่งชนิดต่าง ๆ ในการตัดต่อวีดีโอ  โดยมีการแบ่งเป็นหมวดหมู่ ขึ้นอยู่กับเราจะปรับ แก้ไข ตกแต่ง กับงานประเภทใด เช่น ถ้าเราปรับแต่งเกี่ยวกับคลิปวีดีโอ Option Panel ก็จะทำงานในส่วนของการจัดการเกี่ยวกับการตัดต่อวีดีโอ
          แผงควบคุมการเล่นคลิปวีดีโอ  
          แผงควบคุมแสดงผลภาพนิ่ง
          แผงควบคุมแสดงผลข้อความ        
          แผงควบคุมแสดงผล  Effect 7
       

         2.6 Storyboard and Timeline           :  หน้าต่างตัดต่อวีดีโอ
                Storyboard and timeline หน้าต่างสำหรับเรียบเรียง/ตัดต่อวีดีโอ แบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่
           Storyboard             :   เหมาะกับผู้เริ่มต้นกับงานตัดต่อวีดีโอ  แต่มีข้อจำกัด ดังรูป 48
         


          Timeline           :  เหมาะกับผู้เริ่มชำนาญการใช้โปรแกรม  สามารถใส่ลูกเล่นได้หลากหลาย  เช่น  การปรับแต่งภาพนิ่ง  วีดีโอ  และเสียง  เป็นต้น
        

บทที่ 2

บทที่ 2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (แพรว)


หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
          การทำงานของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นแบบใดหรือประเภทใด มีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด ก็มีพื้นฐานการทำงานเหมือนกัน การทำงานประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 4 หน่วย คือ
1.  หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลคำสั่งจากผู้ใช้เข้าไป โดยผู้ใช้เป็นผู้ป้อนคำสั่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปทำการประมวลผล หากไม่สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะลดน้อยลง เช่นการจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ในงานห้องสมุด เป็นต้น ตัวอย่างในการประยุกต์ด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมรายงานการลงทะเบียนเรียน โปรแกรมตรวจสอบด้านเอกสาร งานพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น
2. หน่วยประมวลผล (Processing Unit) รับข้อมูลแล้วส่งไปยังหน่วยประมวลผล ซึ่งทำหน้าที่ในการคิดคำนวณหรือประมวลผลข้อมูล โดยทำตามโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก


3.  หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่หน่วยประมวลผลสามารถอ่านเขียนได้รวดเร็วมาก ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลักนี้ เพื่อให้หน่วยประมวลผลนำมาตีความและกระทำตามได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหน่วยความจำสำรองมีไว้เก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีจำนวนมาก และหากจะใช้งานก็มีการถ่ายจากหน่วยความจำสำรองมายังหน่วยความจำ และนำข้อมูลที่เก็บไว้มาประมวลผล
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลมาแสดง หน่วยแสดงผลข้อมูล หมายถึง อุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการประมวลผลของหน่วยประมวลผลกลาง เมื่อหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลข้อมูลเสร็จแล้ว ผลลัพธ์จะถูกส่งมาเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อส่งไปยังหน่วยแสดงผล เพื่อรายงานผลที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้ใช้งาน โดยอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง เป็นต้น
สามารถเขียนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นบล็อกไดอะแกรมง่าย ๆ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลัก คือ Input Process และ Output ดังรูปที่ 2.1


         อธิบายขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ จากรูปที่ 2.1
ขั้นตอนที่ 1 รับข้อมูลเข้า (Input)
          เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้คีย์บอร์ด เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิก โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม สำหรับเคลื่อนตำแหน่งการเล่นบนจอภาพ และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น สแกนเนอร์ กล้องวิดีโอ ไมโครโฟน หน้าจอแบบสัมผัส เป็นต้น
          ขั้นตอนที่ 2 ประมวลผลข้อมูล (Process)
          เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เรียกการทำงานนี้ว่า “การประมวลผล” ซึ่งอาจมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น
          ขั้นตอนที่ 3 แสดงผลลัพธ์ (Output)
          เมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลคำสั่งไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้เสร็จเรียบร้อย ก็จะแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ใช้ทราบโดยผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า “จอมอนิเตอร์” (monitor) หรือพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษ โดยใช้เครื่องพิมพ์ (Printer) ลำโพง หรือโปรเจ็คเตอร์ เป็นต้น

บทที่ 3

3.1 รู้จักกับ windows 7


3.1  รู้จักกับ  Windows  7
    Windows  7  มีหลายรุ่มตามความต้องการของกลุ่มผู้ใช้  และตามสเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์  โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้  Windows  7  ต้องมี  คุณลักษณะ(specification)  ขั้นตอนดังนี้
·     ซีพียู  ความเร็ว 1 GHz  ขึ้นไป
·    หน่วยความจำแรมขั้นต่ำ  1  GB  สำหรับรุ่น  32  บิต  และ  2  GB  สำหรับรุ่น  64  บิต
·    เนื้อที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์  16  GB  สำหรับรุ่น  32  บิต  และ  20  GB  สำหรับรุ่น  64  บิต
·    อุปกรณ์แสดงผล  DirectX 9  พร้อมโปรแกรมควบคุม  WDDM (Windows  Display  Driver  model)  สำหรับการ์ดแสดงผล  V  1.0  ขึ้นไป
รุ่นของ  Windows  7
·    Windows  7 Stater  เป้นรุ่นสำหรับผู้เริ่มต้นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือในสถานศึกษา
·    ด้านงานเอกสาร  และเล่นอินเทอร์เน็ต
·    Windows 7 Home Premium  เป้นรุ่นสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่มีความชำนาญ  มีความสามารถพื้นฐานทั้งงานเอกสาร  เล่นอินเทอร์เน็ต  การแชร์ไฟล์ในเครือข่าย  และคุณสมบัติด้านความบันเทิง
·    Windows  7  Profressional  เป็นรุ่นสำหรับกลุ่มองค์กรณ์และภาคธุระกิจทั่วไป  ใช้คุณสมบัติใหม่ๆ  ได้เช่น  Windows  Aero  Windows Touch
·    Windows  7  Ultimate  เป็นรุ่นสมบูรณ์รองรับการทำงานทุกรูปแบบ  รวม
คุณสมบัติไว้อย่างครบถ้วน


3.2 ขั้นตอนการติดตั้ง windows 7

    การติดตั้ง windows 7 ลงบนเครื่องใหม่ที่ยังไม่มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการลงไป  สามารถทำได้โดยให้
เครื่องบูทจากแผ่นดีวีดี เพื่อใช้แผ่นซีดีติดตั้งของ windows 7 เป็นตัวบูทระบบ 
และเข้าสู่การติดตั้ง Windows ต่อไป (ในบางเครื่องอาจจะต้องมึการกำหนค่าในหน้าต่าง Setup ของ BIOS ให้เครื่องบูทจากแผ่นดีวีดีก่อนด้วย
1.ตั้งค่าภาษา เวลา และคีย์บอร์ด จากนั้นคลิกที่ Next 

2.คลิกที่ปุ่ม Install now เพื่อเริ่มการติดตั้ง

3.คลิกให้มีเครื่องหมายในช่อง laccept the license terms เพื่อยอมรับข้อตกลงในการใช้งาน จากนั้นคลิกปุ่ม Next

4.เลือกรูปแบบการติดตั้ง หากเลือกการติดตั้งแบบ Upgrade จะใช้ในกรณีอัพเกรดจาก windows Vista มาเป็น Windows 7 โดยยังคงเก็บรักษาข้อมูล
เดิมเอาไว้ แต่หากเลือกแบบ Custom (advanced) จะเป็นการติดตั้ง windows ใหม่ ข้อมูลต่างๆจะถูกลบทิ้งหมด ในที่นี้ให้คลิกเลือกการติดตั้งแบบ Custom
โดยยังคงเก็บรักษาข้อมูลเดิมเอาไว้ แต่หากเลือกแบบ Custom (advanced)จะเป็นการติดตั้ง windows ใหม่ ข้อมูลต่างๆ 
จะถูกลบทิ้งหมด ในที่นี้ให้คลิกเลือกการติดตั้งแบบ Custom


5.จะปรากฏข้อความ Disk 0 Unallocated Space ซึ่งเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ยังไม่ได้แบ่งพาร์ติชั่นไว้ ให้เราสร้างพาร์ติชั่น โดยคลิกที่ 
Drive options (advanced)

6. กำหนดพื้นที่ที่ต้องการ โดยกำหนดเป็นหน่วย MB (ขนาด 1024 MB = 1 GB) ในที่นี้กำหนดช่อง size เป็น 14000 MB
เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Apply

7.เพื่อให้ใช้ความสามารถของ Windows ได้อย่างสมบูรณ์ Windows จำเป็นต้องสร้างพาร์ติชั่นสำหรับไฟล์ระบบขึ้นมา ให้คลิกปุ่ม OK
8. windows จะสร้างพาร์ติชั่น System Reserved ซึ่งมีขนาด 100 MB ซึ่งโดยปกติจะถูกซ่อนเอาไว้ เพื่อเก็บไฟล์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบูทระบบ (Booting)
เก็บส่วนป้องกันแฟ้มต่างๆ ด้วยการเข้ารหัสลับ (Bitlocker) และเก็บ Windows Recovery Environment (WinRE)     ซึ่งจะช่วยกู้ระบบ-ภายในกรณีที่เกิดปัญหา
สำหรับพาร์ติชั่นที่เราสร้างกำหนดในขั้นตอนที่ผ่านมาจะกลายเป็น Partition 2 ให้คลิกเลือกพาร์ติชั่นนี้ และคลิกคำสั่ง Format เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูล
สำหรับพาร์ติชั่นที่อยู่ล่างสุดเป็นพารืติชั่น ที่เหลือจากการแบ่งพาร์ติชั่นแล้ว ให้ทำการ Format เพื่อใช้พื้นที่ในลักษณะเดียวกัน


9. เริ่มการติดตั้ง Windows ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที และอาจมีการีบูทระบบใหม่


10. ขั้นตอนต่อไปให้เรากรอกชื่อผู้ใช้งาน (User name) และ Windows ก็จะเอาชื่อนี้กำหนดเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อท้ายด้วย -PC เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next 


11. กำหนดรหัสผ่าน (password) และกรอกรหัสเดิมซ้ำอีกครั้ง และหากเรากลัวว่าจะลืมรหัสในภายหลัง ให้กรอกคำใบ้ในช่อง Type a password hint ในภายหลัง
เมื่ิอเราลืมรหัสผ่าน เราสามารถกรอกคำใบ้นัั้นได้ (ไม่กรอกก็ได้) เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next

12. กรอกรหัส Product Key ที่ถูกต้องจำนวน 25 หลัก แล้วคลิกปุ่ม Next


13. คลิกที่ Use recommended settings เพื่อให้ Windows ตั้งค่าระบบรักษาความปลอดภัยโดยอัตโนมัติ


14. ตั้งค่าวันที่ เวลา และเขตเวลา โดย ประเทศไทยจะเป็น (UTC+07:00) Bangkok,Hanoi,Jakarta (ดังรูป) เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK


15.เลือกระบบเครือข่ายที่ใช้งาน โดยถ้าเป็นเครืือข่ายภายในบ้านให้คลิกเลือก Home ถ้าเป็นสำนักงาน ให้เลือก Work ถ้าไม่แนาใจให้่เลือก Public location


16.จากนั้นระบบจะบูทเข้าสู่ Windows โดยอัตโนมัติ