บทที่ 2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (แพรว)
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นแบบใดหรือประเภทใด
มีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด ก็มีพื้นฐานการทำงานเหมือนกัน
การทำงานประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 4 หน่วย คือ
1. หน่วยรับข้อมูล (Input
Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลคำสั่งจากผู้ใช้เข้าไป
โดยผู้ใช้เป็นผู้ป้อนคำสั่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปทำการประมวลผล
หากไม่สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะลดน้อยลง
เช่นการจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน
ใช้คอมพิวเตอร์ในงานห้องสมุด เป็นต้น ตัวอย่างในการประยุกต์ด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมรายงานการลงทะเบียนเรียน
โปรแกรมตรวจสอบด้านเอกสาร งานพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น
2. หน่วยประมวลผล (Processing
Unit) รับข้อมูลแล้วส่งไปยังหน่วยประมวลผล
ซึ่งทำหน้าที่ในการคิดคำนวณหรือประมวลผลข้อมูล
โดยทำตามโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก
3. หน่วยความจำหลัก (Main
Memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่หน่วยประมวลผลสามารถอ่านเขียนได้รวดเร็วมาก
ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลักนี้
เพื่อให้หน่วยประมวลผลนำมาตีความและกระทำตามได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนหน่วยความจำสำรองมีไว้เก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีจำนวนมาก
และหากจะใช้งานก็มีการถ่ายจากหน่วยความจำสำรองมายังหน่วยความจำ
และนำข้อมูลที่เก็บไว้มาประมวลผล
4. หน่วยแสดงผล (Output
Unit) เป็นหน่วยที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลมาแสดง
หน่วยแสดงผลข้อมูล หมายถึง อุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการประมวลผลของหน่วยประมวลผลกลาง
เมื่อหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลข้อมูลเสร็จแล้ว
ผลลัพธ์จะถูกส่งมาเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อส่งไปยังหน่วยแสดงผล เพื่อรายงานผลที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้ใช้งาน
โดยอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง เป็นต้น
สามารถเขียนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นบล็อกไดอะแกรมง่าย
ๆ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลัก คือ Input Process และ Output ดังรูปที่ 2.1
อธิบายขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์
จากรูปที่ 2.1
ขั้นตอนที่ 1
รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น
ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้คีย์บอร์ด เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง
ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิก
โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม
สำหรับเคลื่อนตำแหน่งการเล่นบนจอภาพ และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น สแกนเนอร์ กล้องวิดีโอ
ไมโครโฟน หน้าจอแบบสัมผัส เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2
ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว
เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
เรียกการทำงานนี้ว่า “การประมวลผล” ซึ่งอาจมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม
นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3
แสดงผลลัพธ์ (Output)
เมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลคำสั่งไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้เสร็จเรียบร้อย
ก็จะแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ใช้ทราบโดยผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ
โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า “จอมอนิเตอร์” (monitor)
หรือพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษ โดยใช้เครื่องพิมพ์ (Printer) ลำโพง หรือโปรเจ็คเตอร์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น