บทที่ 4 ซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ
1.ความหมายของซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์
คือ กลุ่มของชุดคำสั่ง (Instruction)
หรือโปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อประมวลผลตามที่ผู้ใช้ต้องการ
หากไม่มีซอฟต์แวร์เครื่องก็ไม่สามารถทำงานได้ เช่น
บริษัผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์เสร็จจะต้องเขียนโปรแกรมควบคุมเครื่อง
เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ที่ผลิตขึ้นมานั้นสามารถเปิดใช้งานได้ด้วยโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องจึงจะเปิดใช้งานได้ ดังนั้น
ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญมากในระบบคอมพิวเตอร์
2.ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Languages)
ภาษาคอมเป็นเรื่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ควรต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับในการพัฒนาโปรแกรม
โดยผู้เขียนโปรแกรมมักเรียกกันว่า "โปรแกรมเมอร์"
เป็นผู้ที่พัฒนาโปรแกรมด้วยการเขียนชุดคำสั่ง
เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
สามารถแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์ออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
2.1 ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ยุคที่ 1 ใช้รหัสเลขฐานสอง (Binary Code) คือ
มีแต่เลข 0 กับ 1 เป็นตัวสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งยากต่อการเรียนรู้
2.2 ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages) หรือเรียกว่า ภาษาระดับต่ำ
เป็นภาษาคอมพิมเตอร์ ยุคที่ 2 เป็นภาษาที่ใช้เอกลักษณ์ในการสื่อความหมาย
การใช้ภาษาระดับต่ำนี้
ต้องใช้ตัวแปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่องที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์
(Assembler)
2.3 ภาษาระดับสูง (High-Level Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ยุคที่ 3 เริ่มใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements
ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับประโยคภาษาอังกฤษ
ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่ง
เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ง่ายขึ้นและเป็นภาษาที่ไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่อง
เนื่องจากภาษาระดับสูงเป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์
แต่ต้องการตัวแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด
คือ
(1) คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นการทำงานของโปรแกรมแปลภาษาแบบคอมไพเลอร์ จะเป็นการแปลคำสั่งทั้งหมดในโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูง
(2) อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) จะทำการแปลชุดคำสั่งทีละบรรทัด หากพบข้อผิดพลาดในโปรแกรมก็จะแสดงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนหน้าจอ
2.4 ภาษาที่ไม่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงาน บุคที่ 4 (Fourth-Generation Languages:4GL)
เดิมภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงาน (Procedural)
ในบางครั้งต้องเขียนชุดคำสั่งของโปรแกรมที่ยาวมากกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
แต่ในภาษายุคที่ 4 เป็นภาษาที่ไม่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงาน
(Non-Procedural)
2.5 ภาษาเชิงวัตถุ (Object-Oriented Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ยุคที่ 5 เป็นการเขียนโปรแกรมแบบ OOP
(Object-Oriented Programming) คือ ให้มองทุกสิ่งเป็นวัตถุ (Object)
ซึ่งวัตถุจะประกอบด้วย ข้อมูล (Data) และวิธีการ (Method) โดยจะมีคลาส
(Class) เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของวัตถุ
3.ประเภทของซอฟต์แวร์
ประเภทของซอฟต์แวร์ใช้งาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
(2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software Software) หรือโปรแกรมระบบ
คือ
โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ
รวมถึงเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
และระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2
โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System)
กับโปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program)
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หรือโปรแกรมประยุกต์
คือ ชุดของโปรแกรมที่เขียนขึ้น เพื่อใช้กับงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ
แบ่งออกเป็น 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมใช้งานเฉพาะด้าน (Operating System)
กับโปรแกรมใช้งานทั่วไป (General-Purpose)
4. ความหมายและหน้าของระบบปฏิบัติการ
1.ระบบปฏิบัติการ
(Operating System) เรียกกันสั้นๆ ว่าโอเอส (OS) คือ โปรแกรมที่สำคัญมาก
ประกอบด้วยชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการดำเนินงานต่างๆ
ภายในระบบคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์
1.1 พีซีคอมแพเทเบิล (PC-Compatable) เป็นกลุ่มเครื่องพีซีใช้งานมากที่สุด
1.2 พีซีแมคอินทอช และแมคโอเอส (Mac OS) เป็นพีซีคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในตระกูลของแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ เช่น Power Bank , Imac
1.3 ลีนุซ์ (Linuk) เป็นระบบปฏิการแบบเปิด
2.หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
หน้าที่หลักของระบบปฏิบัติการ หากพิจารณาถึงรายละเอียดต่างๆ
จะมีจำนวนมากมาย ในทีนี้จะขอกล่าวถึงหน้าที่หลักๆ ของระบบปฏิบัติการ
ซึ่งประกอบด้วย
2.1 ช่วยในการบูตเครื่อง (Boot/BootStrap) บูต (Boot) เป็นการบรรจุโปรแกรมระบบปฏิบัติการลงในหน่วยความจำ (RAM)
2.2
ควบคุมอุปกรณ์และการทำงานของคอมพิวเตอร์ (Control Devices)
ระบบปฏิบัติการจะจัดการกับอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
2.3
จัดสรรทรัพยากรในระบบ (Resources Management) ทรัพยากร (Resources)
หมายถึง สิ่งที่ถูกใช้ในการทำกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น
ซีพียูที่อยู่เพียงตัวเดียว
2.4
เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้งาน (User Interface)
ระบบปฏิบัติการจะเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์
2.5
หน้าที่อื่นๆ โปรแกรมระบบปฏิบัติการแต่ละตัวจะมีความสามารถที่แตกต่างกัน
เช่น การจัดการโครงสร้างข้อมูลที่จัดเก็บไว้ให้มีความปลอดภัย
5. ประเภทของระบบปฏิบัติการ
สามารถแยกประเภทของระบบปฏิบัติการโดยพิจารณาจากบรรทัดฐานที่สำคัญ 3 ประการ คือ
(1) ระบบปฏิบัติการยอมให้มีผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์พร้อมกันมากกว่า 1 คนหรือไม่
(2) ระบบปฏิบัติการยอมให้มีโปรแกรมทำงานพร้อมๆ กันมากกว่า 1 โปรแกรมหรือไม่
(3) ระบบปฏิบัติการสามารถประมวลผลโดยใช้หลายหน่วยประมวลผลได้หรือไม่
6.ชนิดของระบบปฏิบัติการ
ชนิดของระบบปฏิบัติการ สามารถจำแนกออกไปเป็น 3 ชนิด คือ
(1) ระบบปฏิบัติการแบบใช้คนเดียว (Stand-Alone
Operating System) คือ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดี่ยวๆ ได้แก่
ระบบปฏิบัติการดอส (DOS) ระบบปฏิบัติการวินโดว์ (MS-Windows)
ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช (Mac OS) และระบบปฏิบัติการ OS/2
(2) ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network
Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในที่นี้ หมายถึง
ระบบปฏิบัติการแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server)
ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ติดตั้งเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการหรือเซิร์ฟเวอร์(เครื่องแม่ข่าย)
(3) ระบบปฏิบัติการแบบฝังในเครื่อง (Embedded Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่มักนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมือถือ โดยระบบปฏิบัติการแบบฝังในเครื่องนี้
7.ตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์
โปรแกรมอรรถประโยชน์
(Utility Programs) โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือมักเรียกว่า โปรแกรมยูทิลิตี้
เป็นโปรแกรมระบบที่ใช้งานเฉพาะอย่าง
ซึ่งในปัจจุบันระบบปฏิบัติการหลายชนิดได้มีการผนวกโปรแกรมยูทิลิตี้ต่างๆ
มาพร้อมกับชุดระบบปฏิบัติการ เช่น Check Disk , Disk Deframenter
8.ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หรือโปรแกรมประยุกต์
(1) ซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน
(Application-Specific) ประเภทของโปรแกรมนี้ได้แก่ ชุดโปรแกรมต่างๆ
ที่ใช้กับระบบงานธุรกิจหรือระบบงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
โปรแกรมที่ใช้กับการจัดการวัตถุดิบ
(2) ซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้กับงานทั่วไป (General-Purpose) เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถนำมาใช้กับงานทั่ว ๆไปได้ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางงาน โปรแกรมฐานข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น