วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 8

 บทที่ 8 ติดตั้งและใช้ระบบปฏิบัติการระบบที่เป็นมาตรฐานปิด(Propritary)และระบบที่  เป็นมาตราฐานเปิด(Open Standard)

1.รู้จักกับโปรแกรม VirtualBox และ VMware

    - โปรแกรม VM VirtualBox  เป็นซอฟต์แวร์เวอร์ชวลไลซ์เซซัน เพื่อทำการจำลองเป็นคอมพิวเตอร์เสมือนบนเครื่องคอมพิวเตอร์จริงและใช้งานได้เหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป  VirtualBox ใช้ในการทดลองติดตั้งและทดสอบระบบปฏิบัติการ 
    - โปรแกรม VMware ใช้ในการสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน Virtual Machine (VM) และเป็นโปรแกรมที่มีประสบการณ์การทำ Virualization มานานกว่า VirtualBox คือ การสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาอีกเครื่องภายในเครื่องเดียว

2.การติดต่อโปรแกรม VirtualBox

    การที่จะเริ่มทำการติดตั้งโปรแกรมต้องดาวน์โหลด VirtuaBox ตามขั้นตอน 

3.การใช้งานโปรแกรม Virtual Box เบื้องต้น 

    เมื่อติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อย มาทดลองเปิดใช้งานโปรแกรม VirtualBox ตามขั้นตอน

4.การติดตั้งโปรแกรม VMware Workstation

    ทดลองติดตั้งโปรแกรม VMware Workstation 10 

5.การใช้งานโปรแกรม VMware เบื้องต้น

    สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการติดตั้งระะบบปฏิบัติการ คือ แผ่นโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (OS) แบบปิดหรือแบบเปิด เช่น Windows หรือ Linuk และอื่นๆ อาจเป็นแผ่นซีดี ดีวีดี หรืออิมเมจไฟล์แบบต่างๆ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ Ubuntu ดาวน์โหลดอิมเมจไฟล์

6.การใช้งาน Ubuntu Desktop เบื้องต้น 

    Ubuntu Desktop สามารถใช้งานแทน Windows Desktop ได้เกือบสมบูรณ์แบบ มีโปรแกรมที่จำเป็นในการใช้งานปกติครบและมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม สามารถใช้กับฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าได้ และที่สำคัญคือ สามารถใช้งานได้ฟรีเพื่อที่จะใช้งานด้านต่างๆ จึงแยกประเภทซอฟต์แวร์และชื่อโปรแกรม
    ส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน (User Interface) 
    Unity เป็นชื่อเรียกส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานแบบกราฟฟิกถูกออกแบบให้ใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดวางตัวสลับหน้าต่างและจัดการโปรแกรมไว้แนวตั้งเพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ โปรแกรมแถบนี้เรียกว่า Launcher และจัดวางแถบเมนูบาร์ (Top Menu Panel) ไว้ด้านบนเพื่อแสดงเมนูต่างๆ ของโปรแกรมที่เปิดขึ้นมา โดยมีการเผิดพื้นที่การใช้งานในส่วนที่เรียกว่า Places อีกสิ่งหนึ่งที่ควรรู้จักคือ Dash ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาทั้งในเครื่องและอินเทอร์เน็ตผ่านทาง Lens แล้วแสดงผลลัพธ์พรีวิวให้ดูก่อนเปิดจริง โดยใช้ Search Engine ที่เรียกว่า Scope 
    6.1 เริ่มต้นใช้งาน
    6.2 แนะนำแถบเครื่องมือ Launcher ต่างๆ 

7.การติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา

    ปัจจุบันพอร์ต USB มีความเร็วในการเชื่อมต่อสูงขึ้นถึงระดับกิกะบิต โดย USB 3.1 มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 กิกะบิตต่อวินาที ทำให้อุปกรณ์ต่อพ่วงรับ-ส่งข้อมูลได้รวดเร็วมากขึ้น และอุปกรณ์สำรองข้อมูลภายนอก เช่น Flash Drive หรือ External Hard Drive มีความจุที่มากขึ้น และมีราคาถูกลง จึงเป็นที่นิยมนำมาสำรองข้อมูลขนาดใหญ่
    Live USB คือ USB Flash Dive หรือ USB External Hard Drive ที่มีระบบปฏิบัติการเก็บไว้และสามารถบูตได้เสมือนกับอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งๆ 
    ระบบปฏิบัติการหลายตัวสามารถติดตั้งใน USB Flash Drive ได้ เช่น Mac OS 9 , Mac OS X , Windows XP Embedded และ Linuk,BSD หลายๆ ค่าย
    7.1 ประโยชน์และข้อจำกัด
    1.ข้อมูลที่อยู่ใน USB Booting Device สามารถใช้งานและแก้ไขได้ปกติ ทำให้ผู้ใช้สร้างระบบปฏิบัติการที่ต้องการ และติดตั้งโปรแกรมต่างๆ
    2.มีความเป็นส่วนตัวสูงเพราะผู้ใช้มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีระบบปฏิบัติการส่วนตัว 
    3.USB Flash Drive มีการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (Random Access) อย่างแท้จริง จึงแตกต่างกับ Hard Drive แบบหมุนที่มีค่า Seek Time ทำให้โปรแกรมขนาดเล็กเริ่มต้นทำงานได้เร็วกว่า 
    4.การเขียนลง Flash Drive บ่อยๆ อาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง เว้นแต่ว่าจะใช้ระบบที่เขียนใส่ใน Ram จนกระทั่งเลิกใช้งานแล้วเขียนกลับสู้ Flash Drive 
    7.2การติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการบน USB Drive
    เนื่องจากมีหลายโปรแกรมที่สามารถสร้าง Live USB เช่น ถ้าเป็นระบบปฏิบัติการ Windows จะมีโปรแกรม WinToUSB , WiNToBootic หรือระบบปฏิบัติการ Linuk เช่น Fedora
    7.3 การใช้ Windows To Go 
    Windows 8,8.1 เวอร์ชัน Enterprise มีคุณสมบัติอันหนึ่งที่เรียกว่า Windows To Go ทำให้สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการลงบน USB Drive 
ความต้องการของระบบในการติดตั้งวินโดวส์ ต้องการพื้นในการจัดเก็บอย่างน้อย 16 GB สำหรับอบบ 32-bit และ 20 GB สำหรับ 64-bit
    หากไม่มี Windows 8,8.1 เวอร์ชัน Enterprise สามารถใช้โปรแกรมจัดการพาร์ทิชันมาช่วยได้ เช่น โปรแกรม WiNToBootic,WintoUSB เป็นต้น 
    หลังจากทำ Windows To Go เสร็จเรียบร้อย ให้เริ่มต้นระบบใหม่ด้วย USB Drive เมื่อเข้าวินโดวส์ครั้งแรกจะปรากฏหน้าต่างให้ใส่ผลิดภัณฑ์ของวินโดวส์และทำการตั้งค่าเหมือนการติดตั้งใหม่ในคอมพิวเตอร์แต่ต่างกันที่เป็นการเขียนลงบน USB Drive

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น